ระบบสืบค้น งานวิจัย

การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม

โครงการสร้างความร่วมมือเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ

Partnership in Implementation Science for Geriatric Mental Health (PRISM)


      โครงการเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Harvard Medical School, College of Social Work, University of South Carolina และสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายเพื่อนำวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยการออกกำลังกายที่มีหลักฐานว่าได้ผล มาฟื้นฟูผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีอาการด้านพฤติกรรมและอารมณ์ในประเทศไทย โดยการใช้ implementation science มาใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ และแผนการในการต่อยอดขยายผล (scale-up strategies) เพื่อให้สามารถนำความสำเร็จจากโครงการนำร่องไปขยายให้ครอบคลุมทั้งระบบบริการ 

      โครงการนี้จะพัฒนาและทดสอบยุทธศาสตร์การดำเนินการแบบใหม่ตามแบบแบบจำลองกระบวนการทำงานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ (Getting-to-Outcome model) ให้มีความเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย (GTO-Thai Implementation Support model) ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีอาการทางประสาทและจิตเวชในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี    

      เป้าหมายเฉพาะในโครงการสร้างความร่วมมือเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ มีดังต่อไปนี้

         1) เพื่อนำวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยการออกกำลังกายที่ได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่าได้ผล มาปรับให้เหมาะสมกับบริบทสังคม วัฒนธรรม และนโยบายของประเทศไทย (ปีที่ 1) 

         2) เพื่อพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความพร้อมในการรักษาผู้ป่วยด้วยการออกกำลังกายที่ได้รับการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่าได้ผล (ปีที่ 1) 

         3) เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสูงอายุในชุมชน (GTO-Thai Implementation support model) โดยผ่านกรณีศึกษาก่อนนำไปปฏิบัติใช้และประเมินผลระหว่างการนำไปปฏิบัติใช้ (ปีที่ 2)

         4) เพื่อประเมินวิธีดำเนินการและผลที่ได้ทางคลินิกของการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมด้วยวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยการออกกำลังกาย เพื่อทดสอบหาหลักฐานเชิงประจักษ์ตามแบบการสร้างแบบจำลองกระบวนการสนับสนุนการปฏิบัติการแบบไทย (GTO-Thai Implementation) ซึ่งเน้นในกระบวนการเชิงระบบและค้นหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการรักษานี้เปรียบเทียบกับการรักษาตามแบบมาตรฐานเดิม  (ปีที่ 3-4)

         5) เพื่อศึกษาการต่อยอดขยาย (Scale-up study) ในการหาความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อยอดขยายระบบการบริการผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทย และกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพในการทำวิจัย ที่ National Institute of Mental Health ดำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (ปีที่ 5)

หมายเลขอ้างอิง

N/A

ผลการวิจัยและการเผยแพร่

N/A