1. คณะกรรมการอำนวยการหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- กำหนดนโยบายและทิศทางการทำงานของกองจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายสูงสุด
- ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยการและมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนด
2. ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- บริหารงานของกองจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการอำนวยการกำหนด
- บริหารงานของกองจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติให้เป็นไปตามหลักวิชาการด้านจดหมายเหตุและตามวัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้งให้ประสบความสำเร็จสูงสุด
- ให้ข้อเสนอแนะทางเทคนิคการจัดการจดหมายเหตุแก่คณะกรรมการอำนวยการเพื่อให้การกำหนดนโยบายการดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเกิดประโยชน์สูงสุด
- ให้การสนับสนุนด้านงานจดหมายเหตุ งานหอประวัติศาสตร์สุขภาพ งานวิจัยและงานบริหารทั่วไปของกองจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บ อนุรักษ์และให้บริการข้อมูลสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข และระบบสุขภาพไทย
3. ฝ่ายจดหมายเหตุฯ จำนวน 6 คน มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
- งานรับมอบเอกสาร
- งานวิเคราะห์และประเมินคุณค่าเอกสาร
- งานจัดหมวดหมู่เอกสาร
- งานจัดหนังสืออ้างอิง
- งานอนุรักษ์เอกสาร
- งานจัดทำเครื่องมือช่วยค้น/Digital Archives
- งานให้บริการสืบค้น ให้อ่านเอกสารและหนังสืออ้างอิง
- งานให้บริการสำเนาเอกสาร
- งานพัฒนาการด้านจดหมายเหตุ
- งานพัฒนาศักยภาพของนักจดหมายเหตุ
- งานอื่นๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
4. ฝ่ายพิพิธภัณฑ์ จำนวน 1 คน มีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
- งานดูแลหอประวัติศาสตร์สุขภาพที่แสดงนิทรรศการข้อมูลจดหมายเหตุและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- งานจัดทำคลังพิพิธภัณฑ์ส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุข
- งานสนับสนุนด้านวิชาการในการจัดแสดงด้านพิพิธภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
- งานพัฒนาการด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข
- งานพัฒนาศักยภาพของภัณฑารักษ์เพื่อดูแลงานด้านพิพิธภัณฑ์
- งานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
5. ฝ่ายวิชาการ ประกอบด้วย
- งานศึกษาวิจัย จำนวน 4 คน มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
- ทำการค้นคว้า ศึกษาวิจัยด้านประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และความเป็นมนุษย์ (Health social sciences and humanities) ที่เชื่อมโยงกับสุขภาพ การแพทย์และการสาธารณสุข
- สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมิติทางประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมและมิติความเป็นมนุษย์ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขและการแพทย์
- งานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
- งานสร้างเสริมศักยภาพวิชาการ จำนวน 2 คน มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
- พัฒนาศักยภาพด้านวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ ให้สามารถใช้ทักษะ ความรู้ และเครื่องมือทางสังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ และมนุษยศาสตร์อื่น ๆ ในการทำงาน
- พัฒนาฐานความรู้ (knowledge base) สื่อวิชาการ และกระบวนการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ สังคมและความเป็นมนุษย์
- งานส่งเสริมให้เกิดการนำความรู้ความเข้าใจในมิติประวัติศาสตร์ สังคมและความเป็นมนุษย์ในการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา
6. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป จำนวน 2 คน ประกอบด้วย
- งานบริหารทั่วไป
- งานเลขานุการสำนักงาน
- งานการเงินและบัญชี
- งานแผนงานและงบประมาณ
- งานทรัพยากรบุคคล
- งานพัสดุ/งานสารบรรณ
- งานสื่อสารองค์กร
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
- งานธุรการทั่วไป