วาระครบรอบ 100 ปี ของการสาธารณสุขไทย ในปี พ.ศ. 2561 โอกาสสำคัญที่จะเฉลิมฉลองร่วมกันของหน่วยงาน องค์กร รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อวางรากฐานการเรียนรู้ สนับสนุนให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นมาและการบุกเบิกสร้างสรรค์ของนักการสาธารณสุขรุ่นก่อนๆ โดยประชาสัมพันธ์ความสำเร็จ พัฒนาการ และผลงานที่ผ่านมาของระบบสาธารณสุขไทยให้สาธารณชนได้ร่วมกันยินดีแก่สาธารณชน ตลอด 1 ปี พ.ศ. 2561
โครงการเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Harvard Medical School, College of Social Work, University of South Carolina และสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายเพื่อนำวิธีการรักษาผู้ป่วยด้วยการออกกำลังกายที่มีหลักฐานว่าได้ผล มาฟื้นฟูผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีอาการด้านพฤติกรรมและอารมณ์ในประเทศไทย โดยการใช้ implementation science มาใช้เพื่อการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ และแผนการในการต่อยอดขยายผล (scale-up strategies) เพื่อให้สามารถนำความสำเร็จจากโครงการนำร่องไปขยายให้ครอบคลุมทั้งระบบบริการ
การออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาได้รับความสนใจและให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะสถานพยาบาลในประเทศไทยที่มีการซ่อมบำรุง/ปรับปรุงอาคารเก่าที่มีอยู่มากมาย ประกอบกับการขยายตัวของระบบบริการยังมีความต้องการอาคารสำหรับงานบริการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก แต่ยังขาดองค์ความรู้ที่เป็นหลักการ และแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเยียวยา
การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาซึ่งความเศร้าโศก เสียใจ และอาลัยของพสกนิกร ในช่วงเวลานี้ จึงเป็นเวลาที่สำคัญที่จะรวบรวมผลงานต่าง ๆ ของพระองค์และเก็บบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คน อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป
เข้าใจแบบแผนพฤติกรรมเสี่ยงที่แตกต่าง บนความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรม
ถ้าอยากไปได้เร็ว ให้ไปคนเดียว แต่ถ้าอยากไปได้ไกล ต้องไปด้วยกัน
If you want to go fast, go alone. If you want to go far, go together.
ปัจจุบัน สถานะความรู้ของการจัดการภัยพิบัติถูกท้าทาย รื้อถอน สังเคราะห์บทเรียนเพื่ออธิบายปรากฏการณ์รูปธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ จึงเห็นว่าการสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน โดยอาศัยแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community Cultural Ecology Approach) เป็นแก่นแกนในการรวบรวมองค์ความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอันนำไปสู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพทั้งระดับท้องถิ่นและนักวิชาการระดับชาติ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) เพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีแบบองค์รวมทั้งในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
การเยียวยาความเจ็บป่วยที่ดีต้องเกิดจากองค์ประกอบสองด้านที่ต้องเดินไปพร้อมกัน ทั้งทักษะด้านความสัมพันธ์ของมนุษย์
ผนวกรวมกับความคิดด้านวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ แต่การแพทย์สมัยใหม่ที่มีทัศนะการมองมนุษย์ว่าเป็นเพียงกลไกอินทรีย์
ทำให้การแพทย์มีความแข็งกร้าวในเชิงวิชาการมากขึ้น เกิดการรักษาเฉพาะส่วนแยกย่อยลงไปเรื่อยๆ ทั้งยังมีแนวโน้มที่ลดทอน “เสียง” ของคนไข้ ให้เหลือเพียงการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติของสุขภาพ การนำแนวคิด การเล่าเรื่อง - เรื่องเล่าที่เข้ามาใช้ในวงวิชาการการแพทย์ จึงเป็นการคืนเสียงและอำนาจให้กับผู้ป่วย ก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจและความใส่ใจซึ่งกันและกันระหว่างแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยผู้รับบริการ
ระบบการดูแลสุขภาพบ้านมีความสำคัญและสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบริการสุขภาพ อาทิ ความแออัดของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การกลับเข้ามารับการรักษาซ้ำ (re-admission & revisit) ปัญหาการขาดการดูแลต่อเนื่อง ปัญหาการเดินทางของผู้ป่วยและญาติ ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ในระบบบริการ ปัญหาการขาดแคลนเตียงผู้ป่วย รวมถึงปัญหาเรื่องการฟ้องร้องและการร้องเรียนต่างๆ เพราะการดูแลสุขภาพที่บ้านอย่างเป็นระบบนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่าง เพิ่มการเชื่อมโยงกันระหว่างโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ป่วย และญาติ ทำให้เป็นระบบบริการที่ไร้รอยต่อเชื่อมโยงกันตั้งแต่บ้านถึงสถานบริการ
กระแสการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบบริการสุขภาพอย่างรุนแรง โดยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือ Primary Care (PC) ได้กลายเป็นด่านหน้าของยุทธศาสตร์การสร้างระบบบริการสุขภาพใหม่ครั้งนี้ ในด้านบริการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย การเข้าถึงบริการ และต้นทุนการให้บริการนั้นดูจะมีปัญหาน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาเรื่อง คุณภาพบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพบริการที่เป็นองค์รวม สามารถสร้างความพึงพอใจ และการยอมรับจากผู้รับบริการ รวมทั้งความศรัทธาในวิชาชีพของตนจากผู้ปฏิบัติงาน