แผนงาน : เรื่องเล่ากับการเยียวยา
เรื่องเล่า : การเรียนรู้และการเยียวยาความเป็นมนุษย์
Storytelling : Learning, Health and Narrative Skills
การเยียวยาความเจ็บป่วยที่ดีต้องเกิดจากองค์ประกอบสองด้านที่ต้องเดินไปพร้อมกัน ทั้งทักษะด้านความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผนวกรวมกับความคิดด้านวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ แต่การแพทย์สมัยใหม่ที่มีทัศนะการมองมนุษย์ว่าเป็นเพียงกลไกอินทรีย์ ทำให้การแพทย์มีความแข็งกร้าวในเชิงวิชาการมากขึ้น เกิดการรักษาเฉพาะส่วนแยกย่อยลงไปเรื่อยๆ ทั้งยังมีแนวโน้มที่ลดทอน “เสียง” ของคนไข้ ให้เหลือเพียงการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติของสุขภาพ
การนำแนวคิด การเล่าเรื่อง - เรื่องเล่าที่เข้ามาใช้ในวงวิชาการการแพทย์ จึงเป็นการคืนเสียงและอำนาจให้กับผู้ป่วย ก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจและความใส่ใจซึ่งกันและกันระหว่างแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยผู้รับบริการ
นอกจากนี้ กระบวนการเรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา การรับฟังอย่างใส่ใจ การสะท้อนตัวตนเพื่อแสดงออกซึ่งความเห็นใจ และการยอมรับเข้าร่วมอย่างเต็มใจ เป็นการพัฒนาตนเองจากภายในด้วยเช่นเดียวกัน เป็นการสร้างพลังทางด้านบวกในการเรียนรู้และเข้าใจชีวิตที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ได้นำแนวคิด “เรื่องเล่ากับการเยียวยา” มาปรับใช้ในแผนงานหลัก ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 โดยรวบรวมองค์ความรู้ การสร้างหลักสูตรการอบรม การจัดการอบรม และรวบรวมเรื่องเล่าจากประสบการณ์การทำงานของบุคลากรสาธารณสุขจากการจัดการ มารวมเล่มตีพิมพ์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
หมายเลขอ้างอิง
N/A
ผลการวิจัยและการเผยแพร่
N/A