ระบบสืบค้น จดหมายเหตุ

ตำรายาแผนโบราณและเอกสารส่วนบุคคล ปีร.ศ. 126 – พ.ศ. 2549

เอกสารส่วนบุคคลนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นเอกสารที่ได้รับมอบเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 ลักษณะของเอกสารเป็นประเภทกระดาษแผ่น หนังสือ ใบลาน สมุดข่อย ประกาศนียบัตร และสมุดบันทึก ซึ่งใช้ทั้งภาษาไทย ภาษาไทยโบราณ อักษรไทยน้อย อักษรขอมไทย ในการเขียน และมีการบันทึกทั้งประเภทการพิมพ์ การจาร และการเขียนด้วยลายมือ เนื้อหาเอกสารเป็นบันทึกส่วนตัว ตำรายาแผนโบราณซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบิดา รวมทั้งสิ้น 20 กล่อง

หมายเลขอ้างอิง

สบ 5 - 5.3

ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร

1.1 สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง

สบ 5

1.2 ชื่อเอกสาร

นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม

1.3 วัน เดือน ปี ของเอกสาร

ร.ศ. 126 – พ.ศ. 2549

1.4 ระดับของคำอธิบายเอกสาร

ระดับกลุ่ม

1.5 ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ จำนวนหรือขนาด)

กล่องเอกสารขนาด 13 x 39 x 27 เซนติเมตร จำนวน 20 กล่อง

ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของเอกสาร

2.1 ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร

นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม

2.2 ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร

นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เกิดวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ที่ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจึงเข้ามารับจ้างในกรุงเทพฯ และได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสอบเทียบวุฒิมัธยม 6 ได้ในสมัยนั้น จากนั้นจึงกลับไปบวชที่บ้านเกิด ในปี พ.ศ. 2500 สอบได้นักธรรมตรีลาสิกขากลับไปทำงานในกรุงเทพฯ ต่อ และติดเกณฑ์ทหารในปี พ.ศ. 2502 เมื่อออกจากทหารในปี พ.ศ. 2504 ทราบว่ารัฐบาลมีแผนพัฒนาการเกษตร จึงกลับไปอยู่ที่ฉะเชิงเทราประกอบอาชีพเป็นนายหน้าและพ่อค้าคนกลาง ต่อมาจึงคิดทำไร่ในปี พ.ศ. 2512 เคยเป็นผู้นำเรียกร้องการต่อรองราคาผลผลิตทางการเกษตร และรับรางวัล / การเชิดชูเกียรติ ด้านคนดีศรีสังคม ปี พ.ศ. 2532 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกษตรกรดีเด่นแห่งเอเชียแปซิฟิก ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ สมาชิกวุฒิสภา สายเกษตรกร และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก และ พ.ศ. 2552 นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม ได้รับพระราชทานรางวัล "ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน" จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2552 ณ มณฑลพิธีสนามหลวง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ

เอกสารส่วนบุคคลชุดนี้ เป็นเอกสารที่นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม รวบรวมขึ้นจากเอกสารส่วนตัว เช่น สมุดบันทึกการทำงาน ใบประกาศนียบัตรเกียรติคุณต่าง ๆ เป็นต้น และเอกสารตำรายาแผนโบราณ ซึ่งเป็นมรดกที่รับช่วงต่อจากบิดา คือ นายจันดี เข็มเฉลิม ประกอบไปด้วย ตำรายาแผนโบราณที่บันทึกลงในสมุดไทยดำไทยขาว ใบลาน สมุดบันทึก และหนังสือ มีทั้งอักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทยโบราณ เป็นเอกสารตั้ง ร.ศ. 126 – พ.ศ. 2549 เอกสารทั้งหมดได้รับมอบจากนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

2.4 แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร

นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม

ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของเอกสาร

3.1 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร

รหัส (5) สบ 5 / 1 - 90 หนังสือตำรายา รหัส (5) สบ 5.1 – 3 ตำรายา คาถารักษาโรคและตำราพยากรณ์ บันทึกด้วยลายมือเขียนด้วยอักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทย ในสมุดไทดำ-ขาว (สมุดข่อย) ใบลาน สมุดบันทึก รหัส (5) สบ 5.2 สมุดบันทึกส่วนตัว และรหัส (5) สบ 5.3 เกียรติคุณและรางวัล

3.2 การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร

เอกสารชุดนี้มีคุณค่าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขชุมชน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นสมัยโบราณ เป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งตำรายาแผนโบราณในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ความรู้ด้านสมุนไพรในชุมชนท้องถิ่น สามารถนำความรู้ในเอกสารเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของบุคคลในท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป และนำไปศึกษาวิจัยด้านสมุนไพรต่อไปได้ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยจัดเก็บเอกสารเอกสารส่วนบุคคลตลอดไป (เอกสารภาคประชาชน)

3.3 การเพิ่มขึ้นของเอกสาร

-

3.4 ระบบการจัดเรียงเอกสาร

จัดเรียงเอกสารตามรูปลักษณ์ของเอกสาร คือ หนังสือ สมุดบันทึก ใบลาน สมุดไทยดำ-ไทยขาว (สมุดข่อย) ประกาศ

ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้เอกสาร

4.1 เงื่อนไขในการเข้าถึงเอกสาร

เอกสารให้บริการเฉพาะภายในห้องอ่านเท่านั้นไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องใช้บริการ

4.2 เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร

ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาให้และเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติกำหนด

4.3 ภาษา/ตัวอักษรของวัสดุจดหมายเหตุ

ภาษาไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทยปัจจุบัน

4.4 ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร

กระดาษแผ่น หนังสือ ใบลาน สมุดบันทึก และสมุดไทยดำ-ไทยขาว (สมุดข่อย)

4.5 เครื่องมือช่วยค้น

คำอธิบายเอกสาร บัญชีสำรวจเอกสาร และสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต

ส่วนที่ 5 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เกี่ยวข้อง

5.1 สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ

หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ (National Archives of Public Health (NAPH)) ชั้น 1, 4 (88/37) ซ.สาธารณสุข 6 ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 0 2590 2364-5, 0 2590 1352 โทรสาร : 0 2590 1498 เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. อีเมล์ : naph.thailand@gmail.com เว็บไซต์ : www.naph.or.th

5.2 สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา

-

5.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

-

5.4 ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์

-

ส่วนที่ 6 ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ หรือส่วนหมายเหตุ

6.1 หมายเหตุ

-

ส่วนที่ 7 ข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมการทำคำอธิบายเอกสาร

7.1 Archivist's note

แบบคำอธิบายเอกสารนี้ใช้ข้อมูลตาม ISAD (G) : General International Standard Archival Description

7.2 กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติ

การเข้าใช้เอกสารให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเข้าใช้เอกสารของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ

7.3 วัน เดือน ปีที่จัดทำคำอธิบายเอกสาร

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552