เอกสารของนายต่วน ถ่ายเกิด หมอยาแผนโบราณ ในจังหวัดพิจิตร ได้รับมอบจากนายภูเมธ หงสไกร ซึ่งมีฐานะเป็นเหลนของท่าน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นตำรายารักษาโรคแบบโบราณ ซึ่งบันทึกด้วยลายมือในสมุดบันทึก สมุดข่อย (สมุดไทยขาว) หนังสือตำรายาที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ มีทั้งอักษรไทยปัจจุบัน อักษรไทยน้อย อักษรขอมไทย อายุเอกสารอยู่ระหว่าง ร.ศ. 131 - พ.ศ. 2481 รวม 4 กล่อง
หมายเลขอ้างอิง
สบ 6.1 - 6.3
1.1 สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง
สบ 6
1.2 ชื่อเอกสาร
นายต่วน ถ่ายเกิด
1.3 วัน เดือน ปี ของเอกสาร
ร.ศ. 131 – พ.ศ. 2481
1.4 ระดับของคำอธิบายเอกสาร
ระดับกลุ่ม
1.5 ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ จำนวนหรือขนาด)
กล่องเอกสารขนาด 13 x 39 x 27 เซนติเมตร จำนวน 4 กล่อง
2.1 ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร
นายภูเมศ หงสไกร
2.2 ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร
นายต่วน ถ่ายเกิด เกิดวันที่.....เป็นชาวจังหวัดพิจิตร และได้รับการศึกษาตำราทางการแพทย์สมัยบวชเรียน จนสามารถอ่าน-เขียนอักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทยโบราณได้ หลังจากลาสิกขาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพหมอแผนโบราณ (ข้อมูลอยู่ระหว่างปรับปรุง) 2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ (Archival history)
2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่นายต่วน ถ่ายเกิด ใช้เป็นตำราในการรักษาประชาชนในจังหวัดพิจิตร เมื่อท่านเสียชีวิตแล้วลูกหลานได้รวบรวมไว้ ประกอบด้วย หนังสือตำรายาแผนโบราณ สมุดบันทึกลายมือ ตำรายาสมุดข่อย (สมุดไทยขาว) เขียนด้วยลายมืออักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทยปัจจุบัน อายุของเอกสารอยู่ระหว่าง ร.ศ. 131 – พ.ศ. 2481 เอกสารทั้งหมดได้รับมอบจากนายภูเมธ หงสไกร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
2.4 แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร
นายภูเมธ หงสไกร
3.1 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร
รหัส (6) สบ 6.1 เป็นหนังสือตำรายาแผนโบราณ ตำรายาเกร็ด แพทยศาสตร์สังเคราะห์ ตำรายา ขันธวิภังคินี หนังสืองานศพนายยิ้ม ศรีหงส์ รหัส (6) สบ 6.2 สมุดบันทึกลายมือ เป็นตำราดำรงครรภ์รักษา ตำรายาพระพุทธโคดม ตำรายาธาตุ 4 ตำรายาพื้นบ้านของนายต่วน ถ่ายเกิด สมัยบวชเป็นพระ ตำรายา โองการพระมหาเถรตำแยแก้ได้ ๑๐๘ ประการ และตำรายาแก้ไข้ชนิดต่างๆ รหัส (6) สบ 6.3 สมุดไทยขาว เขียนด้วยลายมือโดยใช้อักษรไทยโบราณมีเนื้อหาเกี่ยวกับตำรายาแก้ฝีต่างๆ
3.2 การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร
เอกสารชุดนี้มีคุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณและประวัติศาสตร์สาธารณสุขชุมชน ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่ยังอนุรักษ์ตำรายาแผนโบราณในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ ซึ่งจะให้ความรู้ด้านสมุนไพรแก่ชุมชนท้องถิ่น สามารถนำความรู้ในเอกสารเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของบุคคลในท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป และนำไปศึกษาวิจัยด้านสมุนไพรต่อไปได้ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยจัดเก็บเป็นเอกสารจดหมายเหตุตลอดไป
3.3 การเพิ่มขึ้นของเอกสาร
-
3.4 ระบบการจัดเรียงเอกสาร
การจัดเรียงตามรูปลักษณ์ของเอกสาร คือ หนังสือ สมุดบันทึก สมุดไทยขาว และเรียงตามวัน เดือน ปี ของเอกสาร
4.1 เงื่อนไขในการเข้าถึงเอกสาร
เอกสารให้บริการเฉพาะภายในห้องอ่านเท่านั้นไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องใช้บริการ
4.2 เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร
ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาให้และเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติกำหนด
4.3 ภาษา/ตัวอักษรของวัสดุจดหมายเหตุ
อักษรไทยปัจจุบัน อักษรไทยโบราณ อักษรไทยน้อย และอักษรขอมไทย
4.4 ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร
กระดาษแผ่น หนังสือ สมุดบันทึก และสมุดไทยขาว (สมุดข่อย)
4.5 เครื่องมือช่วยค้น
คำอธิบายเอกสาร บัญชีสำรวจเอกสาร และสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
5.1 สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ (National Archives of Public Health (NAPH)) ชั้น 1, 4 (88/37) ซ.สาธารณสุข 6 ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 0 2590 2364-5, 0 2590 1352 โทรสาร : 0 2590 1498 เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. อีเมล์ : [email protected] เว็บไซต์ : www.naph.or.th
5.2 สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา
-
5.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
-
5.4 ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์
-
6.1 หมายเหตุ
-
7.1 Archivist's note
แบบคำอธิบายเอกสารนี้ใช้ข้อมูลตาม ISAD (G) : General International Standard Archival Description
7.2 กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติ
การเข้าใช้เอกสารให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเข้าใช้เอกสารของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ
7.3 วัน เดือน ปีที่จัดทำคำอธิบายเอกสาร
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552