หนังสือรวมบทความจากนักวิจัยเชิงคุณภาพหน้าใหม่ 22 คน ที่ผ่านการอบรมตลอดหลักสูตร 1 ปี ที่มีชื่อว่า “หลักสูตรนักวิจัยวัฒนธรรมความเสี่ยงสุขภาพ” แต่ละบทความเต็มไปด้วยเรื่องเล่าของกลุ่มเสี่ยงสุขภาพที่จะมาเล่าเรื่องราวชีวิตและเงื่อนไขทางสังคมผ่านงานเขียนของพวกเขา ที่ไม่เพียงแต่ทำให้สถานะองค์ความรู้เรื่องมิติสังคมวัฒนธรรมของปัจจัยเสี่ยงสุขภาพเข้มแข็งขึ้น หากแต่งานวิจัยที่พวกเขาริเริ่มยังช่วยขับเคลื่อนประเด็นทางวิชาการ สร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นความตื่นตัวในการศึกษาประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมในวงกว้างอีกด้วย
โดยภายในเล่ม “งานวิจัยวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ : อุบัติเหตุ ยาเสพติด” ประกอบด้วย 10 บทความ ดังนี้
1) อุบัติเหตุทางถนน วัฒนธรรมราชการ กับงานประเพณี
2) ทัศนคติและท่าทีปฏิบัติของชุมชนต่อการใช้จักรยานยนต์ของเด็กและเยาวชนในชุมชน
3) การรับรู้ “ความเสี่ยง” และ “ความปลอดภัย” ของคนขับและผู้โดยสารรถตู้สาธารณะ
4) ทำไมวัยรุ่นไม่สวมหมวกกันน็อก
5) ความไม่เป็นธรรมทางสังคมสู่ภาวะอันตรายบนท้องถนน: กรณีศึกษารถตู้โดยสารสาธารณะ
6) ประสบการณ์ทางอารมณ์ ความทรงจำ ผัสสะของผู้ใช้ฝิ่น
7) ความทุกข์ระทมของสตรีไทยมุสลิมที่สามีติดสารเสพติด
8) ความหมายในการใช้ยาแก้ไอของวัยรุ่นมุสลิม
9) จากผู้ใช้ยา...สู่อาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน
10) การนิยาม “เวลาว่าง” ของผู้ใช้เมทแอมเฟตามีน
ดำเนินงานโดย:
โครงการศึกษามิติสังคมวัฒนธรรมของปัจจัยเสี่ยง
แผนงานวัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
สนับสนุนการดำเนินงานโดย:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
********************************************************************
ท่านสามารถสั่งซื้อหนังสือชุด "วัฒนธรรมกับความเสี่ยงสุขภาพ" ทั้ง 4 เล่ม โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการและจัดส่ง 100 บาท / เล่ม
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Culture and Health Risks หรือ โทร. 0 2590 1352