เอกสารงานวิจัยและพัฒนา

เอกสารงานวิจัยและพัฒนา
ภัยพิบัติชุมชน
Banthita
Feb 02, 2021
ปัจจุบัน สถานะความรู้ของการจัดการภัยพิบัติถูกท้าทาย รื้อถอน สังเคราะห์บทเรียนเพื่ออธิบายปรากฏการณ์รูปธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ จึงเห็นว่าการสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างศักยภาพชุมชน โดยอาศัยแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community Cultural Ecology Approach) เป็นแก่นแกนในการรวบรวมองค์ความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอันนำไปสู่ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพทั้งระดับท้องถิ่นและนักวิชาการระดับชาติ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) เพื่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีแบบองค์รวมทั้งในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
เอกสารงานวิจัยและพัฒนา
เรื่องเล่ากับการเยียวยา
Banthita
Feb 02, 2021
การเยียวยาความเจ็บป่วยที่ดีต้องเกิดจากองค์ประกอบสองด้านที่ต้องเดินไปพร้อมกัน ทั้งทักษะด้านความสัมพันธ์ของมนุษย์ ผนวกรวมกับความคิดด้านวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ แต่การแพทย์สมัยใหม่ที่มีทัศนะการมองมนุษย์ว่าเป็นเพียงกลไกอินทรีย์ ทำให้การแพทย์มีความแข็งกร้าวในเชิงวิชาการมากขึ้น เกิดการรักษาเฉพาะส่วนแยกย่อยลงไปเรื่อยๆ ทั้งยังมีแนวโน้มที่ลดทอน “เสียง” ของคนไข้ ให้เหลือเพียงการแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติของสุขภาพ การนำแนวคิด การเล่าเรื่อง - เรื่องเล่าที่เข้ามาใช้ในวงวิชาการการแพทย์ จึงเป็นการคืนเสียงและอำนาจให้กับผู้ป่วย ก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจและความใส่ใจซึ่งกันและกันระหว่างแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยผู้รับบริการ
เอกสารงานวิจัยและพัฒนา
การดูแลสุขภาพที่บ้าน
Banthita
Feb 01, 2021
ระบบการดูแลสุขภาพบ้านมีความสำคัญและสามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบริการสุขภาพ อาทิ ความแออัดของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การกลับเข้ามารับการรักษาซ้ำ (re-admission & revisit) ปัญหาการขาดการดูแลต่อเนื่อง ปัญหาการเดินทางของผู้ป่วยและญาติ ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ในระบบบริการ ปัญหาการขาดแคลนเตียงผู้ป่วย รวมถึงปัญหาเรื่องการฟ้องร้องและการร้องเรียนต่างๆ เพราะการดูแลสุขภาพที่บ้านอย่างเป็นระบบนั้น เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่าง เพิ่มการเชื่อมโยงกันระหว่างโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ป่วย และญาติ ทำให้เป็นระบบบริการที่ไร้รอยต่อเชื่อมโยงกันตั้งแต่บ้านถึงสถานบริการ
เอกสารงานวิจัยและพัฒนา
หลักสูตรอบรม
Banthita
Feb 01, 2021
กระแสการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบบริการสุขภาพอย่างรุนแรง โดยระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ หรือ Primary Care (PC) ได้กลายเป็นด่านหน้าของยุทธศาสตร์การสร้างระบบบริการสุขภาพใหม่ครั้งนี้ ในด้านบริการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย การเข้าถึงบริการ และต้นทุนการให้บริการนั้นดูจะมีปัญหาน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาเรื่อง คุณภาพบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพบริการที่เป็นองค์รวม สามารถสร้างความพึงพอใจ และการยอมรับจากผู้รับบริการ รวมทั้งความศรัทธาในวิชาชีพของตนจากผู้ปฏิบัติงาน
เอกสารงานวิจัยและพัฒนา
ศุกร์เสวนา
Banthita
Feb 01, 2021
ศุกร์เสวนาคือห้องเรียนปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป และที่เน้นเฉพาะทางด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และมานุษยวิทยาทางการแพทย์ของ กลุ่มคนที่สนใจศึกษาวิจัยทางด้านนี้ ประกอบด้วยนักศึกษาปริญญาเอกด้านสังคมศาสตร์การแพทย์ นักวิชาการ และนักวิจัยด้านสังคมและสุขภาพประมาณ 20-30 คน มีการประชุมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอกันทุกวันศุกร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2546-ปัจจุบัน การประชุมวิชาการที่ผ่านมาทุกวันศุกร์จะสัมมนาและอภิปรายกันในเรื่องทฤษฎี แนวคิด และวิธีวิทยาในการศึกษาด้านสังคมศาสตร์การแพทย์ผ่านการอ่านและถกเถียงชิ้น งานสำคัญในการศึกษาด้านนี้ โดยเฉพาะในวันศุกร์ที่สามของทุกเดือนที่เรียกกันว่า Journal Club จะเน้นหนักในการนำเสนอและถกเถียงปรัชญาและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานสำคัญของงาน ด้านนี้ในแต่ละสำนักคิดอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งผลิตเอกสารประกอบการสัมมนาขึ้นเป็นเอกสารอ้างอิงเอาไว้ด้วย
เอกสารงานวิจัยและพัฒนา
ประวัติศาสตร์สุขภาพ
Banthita
Feb 01, 2021
ประวัติศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขไทยเป็นเรื่องที่มีการศึกษาน้อยมาก มีสถานะความรู้หยุดนิ่ง มีทัศนะสำเร็จรูปที่ถือว่าประวัติศาสตร์การแพทย์ไทยเริ่มต้นเมื่อหมอมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่การแพทย์ตะวันตกในสยามและมาสิ้นสุดลงที่การก่อตั้งโรงศิริราชพยาบาล ความสนใจในมิติทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ เช่น พัฒนาการของระบบสาธารณสุขไทย ประวัติศาสตร์ทางสังคมของโรค ประวัติศาสตร์การเมืองของสาธารณสุขไทย ประวัติศาสตร์จากมุมมองของชาวบ้าน ยิ่งประวัติศาสตร์วิธีคิดที่เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องสุขภาพและการแพทย์มีการศึกษาน้อยมาก